วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

คำถามท้ายบทที่ 1 
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
          มนุษย์เราจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า มนุษย์เป็นสัตว์อันประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึงพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ เช่นเดียวกันกับสัตว์ต่างๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จะต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนกัน กิริยาท่าทางเหมือนกัน สื่อภาษาเดียวกัน รวมตัวเพื่อป้องกันต่อสู้ภัยที่จะมาถึงตัว มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน มีวัฒนธรรมของตนที่จะรวมตัวเข้าด้วยกัน ดังคำกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมและมีเหตุผล (rational and social being)”
               และถ้าหากไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้สังคมมนุษย์อยู่ได้อย่างลำบาก ไม่มีทิศทางในการดำเนินชีวิต เกิดการทะเลาะวิวาท ความวุ่นวาย ฆ่ากันตาย เป็นต้น
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
               ผมคิดว่าสังคมปัจจุบันอยู่ไม่ได้ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ อีกทั้งไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำให้ไม่มีใครสามารถมาลงโทษคนพวกนี้ได้
3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ความหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย ประการ คือ
                        1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
                        2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                        3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                        4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
ที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                           1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                           2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                           3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                                     1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                                     1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัต
                       1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                                     1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                                     1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
                        1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                                     1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                                     1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
                        1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                                     1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                                     1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
            2. กฎหมายภายนอก
                       2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
                       2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
                      2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
                ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า ทุกประเทศมีการปกครองเป็นของตนเอง ซึ่งการที่ผู้นำประเทศจะปกครองประชาชนในประเทศนั้นได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการปกครอง นั่นก็คือ “กฎหมาย” โดยประเทศในยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น จะใช้กฎหมายระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) ส่วนประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะใช้กฎหมายระบบคอมมอนลอร์ (Common Law System)
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
                สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                           ตามกฎหมายอาญา สภาพบังคับก็คือการลงโทษตามกฎหมาย เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ แต่ตามกฎหมายแพ่งฯ นั้น สภาพบังคับจะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ฯลฯ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งฯ ในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
        จะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้    
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ 

               7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีมีกี่ประเภท และหลักการอะไรบ้าง แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง จงยกตัวอย่าง พร้อมอธิบาย 
        ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
                   1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                   2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
          1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                    1.1  ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                    1.2 ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมาย      ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
          2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                   2.1  กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                   2.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า  กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้  กฎหมายวิธีสบัญญัติ    จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
          3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                   3.1  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
                   3.2  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครอง

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
          เมื่อกล่าวถึงศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้ 
                                               1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                         
                                               2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                                               3. พระราชกำหนด                                                       
                                               4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                                               5. พระราชกฤษฎีกา                                                      
                                               6. กฎกระทรวง
                                               7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                     
                                               8. เทศบัญญัติ
                                               9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
          ผมคิดว่าเป็นการกระทำที่ผิด เพราะว่า ประชาชนเองมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองโดยในการชุมนุมก็เป็นการชุมนุมที่สงบเพื่อเเสดงถึงความบริสุทธิ์ใจเเต่งเพียงต้องการเรียกร้องเพื่อสิทธิของตนเอง  แต่ทางรัฐบาลกระทำรุนแรงกับประชาชนโดยการทำร้ายประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุม แล้วสิทธิของประชาชนจะตั้งไว้เพื่อทำอะไร เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า  
           1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
           2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
           3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
           4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
           5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
           6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
           7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
           8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
          9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ                      10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
          11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
          12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
            สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปัจจุบัน เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา ถือได้ว่าเป็นกรอบเเนวทางในการปฏิบัติหรือการพัฒนาทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา การเรียนการสอน หรือด้านบุคลากรเอง หรือการจัดการอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเเละสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉะนั้นกฎหมายการศึกษาจึงเปรียบเสมือนตัวขับเคลื่อนเเละกรอบเเนวทางในการปฏิบัติให้บุคคลทางการศึกษาเเละระบบทางการศึกษาควรระลึกเเละปฏิบัติในเเนวทางที่ถูกต้อง

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
            ในฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษา จะทำให้การดำเนินงานของเราไม่เป็นระบบ เราจะไม่ทราบถึงระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพ  ข้อละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร ซึ่งวินัยข้าราชการครูมีทั้งระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่างบางครั้งเราอาจกระทำการใดๆลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น อาจก่อความเสียหายในหลายๆทางอาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกราบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดวินัยเพื่อจะได้เกรงกลัวเเละไม่กล้าทำผิดวินัยอีก

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่1

กิจกรรมที่ 1: แนะนำตนเอง


ชื่อ นายวุฒิภัทร    นามสกุล  ทองเอียด    ชื่อเล่น ทีม       
รหัสประจำตัวนักศึกษา  5881103044เกิด วันเสาร์ที่  2  มีนาคม  พ.ศ. 2539
กรุ๊ปเลือด สัญชาติ ไทย  เชื้อชาติ ไทย  นับถือศาสนา พุทธ        
ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน  556/3  หมู่  5  ตำบลปากพูน   อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช    จังหวัดนครศรีธรรมราช  80000      Facebook : Wuttipat Thongeied
เบอร์โทรศัพท์  080-6989700

ปรัชญาชีวิต
พยายามในวันนี้  เพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า  

การศึกษา
จบการศึกษาชั้นอนุบาลจากโรงเรียนอนุบาลวิเชียรรัตน์  
จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ
จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้
ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรี  คณะครูศาสตร์  สาขาวิชาคณิตศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง     
เพื่อที่จะสอนเด็กซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติให้เป็นคนดีและคนเก่งของสังคม  และอยากให้พ่อแม่มีภาคภูมิใจ

เป้าหมายของตนเอง    
เรียนจบภายในเวลา  5  ปี  ตั้งใจทำงาน  เก็บเงินออมทรัพย์  ซื้อบ้าน สร้างครอบครัว  มีการงานที่มั่นคง เลี้ยงดูพ่อแม่ ตอบแทนบุญคุณท่านทั้งสองได้